วันจันทร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2555


พฤติกรรมต่างๆของกระต่าย

กระต่ายเป็นสัตว์กลางคืน ดังนั้นจึงไม่แปลกที่จะเห็นลูกรักของเราคึกคักเวลากลางคืนนะคะ ซึ่งก็เหมาะกับคนทำงานกลับมาลูกๆตื่นตัวพร้อมเล่นกับเราพอดีเลยค่ะ ^^ ส่วนเรื่องการฝึก นิสัยของกระต่ายแต่ละตัวก็ต่างกันออกไป บางตัวก็ฝึกได้ บางตัวฝึกเท่าไหร่ก็ไม่จำ ก็ต้องทำใจนะคะ
มาดูพฤติกรรมต่างๆของกระต่ายว่าแสดงออกถึงอะไร และต้องการอะไรกันนะคะ

การกินมูลตัวเอง(Coprophagy)
หากเห็นกระต่ายของเรากินมูลตัวเองไม่ต้องตกใจนะคะ ควรปล่อยให้เค๊ากินไป ถึงแม้เราจะรู้สึกตะหงิดๆใจก็ตาม เพราะการกินมูลตัวเองของกระต่ายจะเป็นการปรับลำไส้ของเค๊าให้เป็นปรกติ กระต่ายจะมีการถ่ายมูลพวงองุ่นที่อ่อนนุ่มนี้ในยามเช้าตรู่แล้วกินมันกลับเข้าไปใหม่การกระทำนี้เรียกว่า Coproghagy นักวิทยาศาสตร์ได้ทำการทดลองว่าการที่กระต่ายกินมูลพวงองุ่นนี้เข้าไปจะทำให้ลำไส้ของเค๊าเป็นปรกติ แบคทีเรียในลำไส้ของกระต่ายจะผลิตวิตามินบีและโปรตีนฉะนั้น ในมูลพวงองุ่นก็จะมีทั้งวิตามินบี โปรตีน และแบคทีเรียที่ดี เมื่อกระต่ายกินมูลกลับเข้าไป ก็จะได้รับสารอาหารและแบคทีเรียที่ดีก็จะกลับเข้าสู่ร่างกายอีกครั้งค่ะ ^ ^

การสื่อสาร
โดยปรกติเราจะไม่ค่อยได้ยินเสียงกระต่ายนะคะ ยกเว้นเวลาเค๊าตกใจ กลัวอะไรก็จะมีการร้องออกมา กระต่ายบางตัวเวลาเราไปจับเค๊าก็จะมีเสียงร้องเล็กๆในลำคอ อาจจะเป็นเพราะเค๊ากลัวหรือไม่อยากให้เราไปยุ่งกับเค๊าค่ะ กระต่ายแต่ละตัวนิสัยก็ต่างกันไปนะคะ บางตัวก็บ่นได้ตลอดๆ ชอบก็ส่งเสียง หิว ไม่พอใจ ส่งเสียงตลอด บางตัวก็เงียบกริบก็มีค่ะ กระต่ายที่ฟาร์มเราบางตัวเวลาอยากผสมพันธ์ก็ส่งเสียง แถมพอเสร็จภารกิจ ส่งเสียงดังลั่นเลยก็มีค่ะ ออกแนวลามกนิดๆนะเนี่ย

ภาษาร่างกาย
เราลองสังเกตดีดี ภาษาร่างกายก็บอกอะไรเราได้หลายอย่างนะคะ
เรียกร้องความสนใจ – เอาจมูกมาดุน มาดันๆเรา ,สะกิดๆเราด้วยเท้าหน้าของเค๊า ,งับคุณเบาๆ ก็เป็นอาการเรียกร้องความสนใจของเค๊าได้เช่นกันค่ะ
อารมดี มีความสุข – ส่งเสียง กระโดดโลดเต้น, นอนแผ่อย่างมีความสุข หูลู่ไปด้านหลัง เดินวนรอบตัวคุณ
อยากรู้อยากเห็น – หูลู่ไปด้านหน้า ,โน้มตัวไปด้านหน้าเหมือนสนใจว่ามีอะไรเกิดขึ้นนะ ,ยืนๆดูอยากเห็นว่ามีอะไรเกิดขึ้น
ป้องกันตัวเอง จู่โจม – อันนี้สังเกตดีดีนะคะ พลาดขึ้นมาอาจจะเจ็บตัวได้ อาการหูลู่ไปด้านหลัง ยกหางขึ้น บางตัวมีสงเสียงขู่ด้วย บางตัวทำท่าเหมือนสนใจเรายืนสองขาน่ารัก พอยื่นมือเข้าไปลูบก็ ฟับ งับเราซะอย่างงั้น -*-

การกัดแทะสิ่งของ
เป็นปัญหาที่ต้องเข้าใจและดูแลดีดีนะคะ เพราะกระต่ายน้อยเป็นสัตว์ฟันแทะ เค๊าต้องการแทะเพื่อลับฟัน ไม่ให้ฟันงอกยาวจนเกินไป หากฟันของเค๊ายาวอาจจะเกิดปัญหาอื่นๆตามมาได้อีกมากมายเลยนะคะ เราควรหากิ่งไม้ ท่อนไม้เล็กๆแห้งๆแข็งๆ หรือไม้แทะแบบสำเร็จรูป ทิ้งไว้ให้เค๊าแทะเล่นค่ะ แต่ก็ต้องดูว่าไม้นั้นๆต้องไม่เป็นอันตรายกับเค๊านะคะ และที่ควรระวังคือ สายไฟ พลาสติกต่างๆ และวัสดุที่ไม่ควรให้ตกถึงท้องเค๊าค่ะ

การขุด
ในธรรมชาติกระต่ายต้องขุดดินเพื่อสร้างโพรง ทำรัง ไว้เลี้ยงลูก อยู่อาศัยและหลบจากศัตรู ฉะนั้นจึงไม่แปลกที่กระต่ายของเราจะชอบการขุดมาก ยิ่งในกระต่ายเด็ก ทั้งขุดทั้งมุดจนตัวมอมแมมไปหมด เราสามารถหาสถานที่ หาอะไรให้กระต่ายของเราได้ขุดเล่นเพื่อเป็นการลับเล็บได้อีกด้วยนะคะ นอกจากนี้การขุดยังเป็นการบอกว่าแม่กระต่ายของเรากำลังต้องการทำรังคลอดลูกแล้วล่ะค่ะ เราก็จัดเตรียมรังคลอดให้เค๊าได้เลยค่ะ

การนอน
บางทีเราอาจจะสงสัยว่ากระต่ายของเรานอนบ้างไม๊ ทำไมไม่เห็นหลับตา นั่นก็เพราะว่าโดยสัญชาติญาณของเค๊าซึ่งเป็นผู้ถูกล่าจะมีการระวังตัวสูงค่ะการหลับของเค๊าจึงไม่จำเป็นต้องหลับตาค่ะ แต่ในกรณีที่กระต่ายสบายใจมากเสียเหลือเกิน เราอาจจะเห็นพฤติกรรมการนอนที่สุดจะน่ารักได้หลายรูปแบบเลยค่ะ บางตัวนอนแผ่เป็นไก่ย่าง บางตัวหลับหัวทิ่มคาถ้วยอาหาร บางตัวมีนอนละเมออีกต่างหาก รู้สึกเหมือนจะสูญเสียสัญชาติญาณการเป็นผู้ถูกล่ากลายมาเป็นเจ้าบ้านที่แสนจะสบายใจไปซะแล้วนะคะ

การเคาะเท้า
กระต่ายจะเคาะเท้าเป็นการเตือนภัย อาจจะเคาะหรือกระโดดขึ้นลงเพื่อให้เกิดเสียง เราจะเห็นการเคาะเท้าได้ตอนที่เค๊าเครียดและตื่นกลัว เช่นมีสัตว์อื่นเข้ามาใกล้บริเวณที่เค๊าอยู่หรือไม่  หรือไม่คุ้นเคยเวลามีคนจะเข้าไปอุ้มค่ะ

การแสดงอาณาเขต
ในกระต่ายตัวผู้จะมีการแสดงอาณาเขตด้วยการเอาคางถูไปยังที่ต่างๆในบ้านและกรงของมัน บางครั้งเราก็เห็นตัวเมียทำแบบนี้เช่นกัน นี่เป็นการแสดงอาณาเขตของกระต่าย กระต่ายตัวอื่นที่ผ่านเข้ามาจะรู้ได้ทันทีว่านี่เป็นอาณาเขตของกระต่ายตัวอื่นค่ะ

การแสดงอำนาจ
การแสดงอำนาจที่มากเกินไปอาจจะทำให้กระต่ายของเราก้าวร้าวได้ กระต่ายแสดงอำนาจโดยการฉี่ไปทั่ว และฉี่ไปที่กรงของกระต่ายตัวอื่นๆ อีกวิธีที่จะแสดงอำนาจก็คือการงับ เป็นได้ทั้งงับกระต่ายตัวอื่นๆ หรืออาจจะลามมาถึงมางับเรา หากกระต่ายตัวไหนเริ่มมีการแสดงอำนาจมากเกินไป เราต้องจัดการแก้ปัญหานี้ก่อนที่จะกลายเป็นกระต่ายแสนโหดนะคะ

ความก้าวร้าว
เป็นเรื่องที่ผู้เลี้ยงไม่อยากเจอเลย การก้าวร้าวเกิดได้จากหลายอย่างค่ะ ทั้งจากความเครียด ความกลัว อาการไม่ได้ดังใจ ในกรณีที่โดนเลี้ยงตามใจมากเกินไป อาการแสดงอำนาจ และบางตัวถ่ายทอดมาจากพ่อแม่ก็มีค่ะ เรียกได้ว่าดุกันทั้งครอบครัว -*-  แต่เราก็สามารถค่อยๆปรับค่อยๆฝึกให้เค๊าเป็นสัตว์เลี้ยงที่เชื่องได้นะคะ แต่ต้องใจเย็นๆค่ะ จะทำอะไรในเวลาที่เค๊ากำลังก้าวร้าวคงยาก เพราะเค๊าเป็นสัตว์ที่กัดเจ็บ และถีบรุนแรงมาก ได้แผลได้เลือดกันเลยทีเดียวค่ะ





ที่มา:countryrabbitfarm.






วิธี การเลี้ยงดูแลกระต่าย
การดูแลกระต่ายไม่ใช่เรื่องยาก แต่เป็นงานที่ต้องกระทำเป็นกิจวัตร ทุกวัน ทุกสัปดาห์ และทุกเดือน การเลี้ยงกระต่ายนั้นสำคัญที่ ทุก ๆ สิ่งต้องสดและสะอาด เราอาจจัดแบ่งลักษณะงานที่ต้องทำให้กับกระต่ายไว้ เพื่อง่ายต่อการปฏิบัติดังนี้ ...


๐ ทุกวัน ๐
- ตรวจสอบสุขภาพกระต่ายประจำวัน สังเกตุการนั่ง เดิน ยืน ตรวจเล็บ สุขภาพขน และสุขภาพหู




- ปล่อยกระต่ายวิ่งเล่น เราอาจกั้นพื้นที่บางส่วนไว้ให้กระต่ายได้ออกกำลังกายในช่วงที่เราทำความสะอาดกรงของกระต่ายในตอนเช้า-เย็น (แล้วแต่ความสะดวกของผู้เลี้ยง)


- เก็บเศษผักสด ผลไม้เก่าที่กระต่ายทานไม่หมดทิ้ง เพราะเศษอาหารที่เหลือตกค้างนี้ หากกระต่ายทานเข้าไปอีกอาจทำให้เกิดอาการท้องเสียได้


- เก็บเศษอาหารเม็ดเก่าทิ้ง เพราะอาหารเม็ดที่เหลือเหล่านี้จะเกิดการบวมชื้น กระต่ายจะไม่ทานส่วนที่เหลือ ดังนั้นในแต่ละมื้ออาหารควรกำหนดปริมาณอาหารเม็ดให้พอดีสำหรับ 1 มื้อเสมอ


- เก็บเศษหญ้าสด/หญ้าแห้งทิ้ง เศษหญ้าเหล่าเมื่อทิ้งไว้ในกรงอาจเกิดการขึ้นราหรือปนเปื้อนกับมูลหรือฉี่กระต่าย


- ทำความสะอาดถาดรองกรง


- เทน้ำเก่าในขวดน้ำทิ้ง แล้วเติมน้ำสะอาดให้เต็ม


- ให้อาหารเม็ด หญ้าสด/หญ้าแห้ง หรือผักสด/ผลไม้ โดยกะปริมาณอาหารให้กระต่ายทานหมดใน 1 มื้อ


๐ ทุกสัปดาห์ ๐
- ล้างทำความสะอาดขวดน้ำ กระถางใส่อาหาร ที่แขวนหญ้า ด้วยน้ำสบู่อ่อน ๆ หรือน้ำยาฆ่าเชื้อผสมเจือจาง แล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาดอีกครั้ง ต้องมั่นใจว่าไม่มีสารตกค้างหลงเหลือก่อนนำกลับไปใช้เลี้ยงกระต่ายอีกครั้ง


- ทำความสะอาดถาดรองกรง และตากแดดให้แห้งสนิท


๐ ทุกเดือน ๐
- ทำความสะอาดกรง ถาดรองกรง พื้นใต้กรง ผนังกำแพง ในบริเวณที่ใช้เลี้ยงกระต่าย ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อผสมเจือจาง แล้วล้างออกให้สะอาดก่อนนำกระต่ายกลับเข้ากรง


- ทำความสะอาดอุปกรณ์ที่ใช้เลี้ยงกระต่ายทั้งหมด รวมทั้งของเล่นของกระต่าย


หากเราปฏิบัติได้ในทุก ๆ ข้อ จนเป็นความเคยชินแล้ว จะทำให้กระต่ายนั้นมีสุขอนามัยที่ดี ย่อมส่งผลให้สุขภาพกายและสุขภาพจิตของกระต่ายนั้นดีเช่นกัน กระต่ายที่มีสุขภาพสมบูรณ์ จะร่าเริงแจ่มใส สะอาดสะอ้าน น่ารักน่าอุ้ม ขนสวยนุ่ม และขี้เล่น


ที่มา:rabbitcafe.net

สิ่งต้องห้าม สำหรับการเลี้ยงกระต่าย และหนูแกสบี้
การเลี้ยงกระต่าย การเลี้ยงหนูแกสบี้
  1. กระต่ายและหนูแกสบี้เป็นสัตว์กินพืช ผัก ผลไม้ ไม่ควรให้กินขนมขบเคี้ยว ลูกอม เนื้อสัตว์ ของหมักดอง เพราะระบบย่อยอาหาร
    เขาไม่เหมือนเราอาจทำให้เป็นอันตรายถึงชีวิตได้ค่ะ
  2. ห้ามอาบน้ำตอนกลางคืนเด็ดขาด เวลาจะอาบน้ำให้ดูสภาพอากาศและเวลาเป็นสำคัญนะคะ ทุกครั้งที่อาบน้ำให้ไดร์ขนให้แห้งสนิท
    ทั้งตัวค่ะ สำหรับกระต่ายเขาเป็นสัตว์ที่รักษาความสะอาดตัวเองเก่งมากอยู่แล้วหากไม่เลอะมากไม่ควรอาบให้ล้างแค่ส่วนที่เลอะก็พอ
    เพราะเส้นขน ของกระต่ายนั้นละเอียดแห้งยากมาก อาบน้ำกระต่าย 1 ตัวใช้เวลาเท่ากับอาบน้ำหนูแกสบี้ 5 ตัวเลยทีเดียว แต่สำหรับหนู
    แกสบี้ใน ฤดูร้อนควรอาบน้ำใช้แชมพูผสมครีมนวดใส่น้ำเปล่าให้เจือจางเยอะ ๆ อาบอาทิตย์ละครั้ง แต่ฤดูฝนหรือหนาวอาบ 2 อาทิตย์ครั้ง
    ก็ได้ ถ้าช่วงที่อากาศเย็นมากให้ล้างก้นหรือล้างบริเวณที่เลอะ ตัดขนที่พันก็พอ
  1. ห้ามเอาพัดลมจ่อตลอดเวลา หากเห็นว่าร้อนให้เปิดพัดลมหงายหน้าขึ้นและส่ายไปมา
    เปิดหน้าต่างรับลมกว้าง ๆ ก็พอค่ะ หากนอนห้องแอร์อย่าพากระต่ายเข้า ๆ ออก ๆ
    ร้อนเย็น ๆ บ่อย ๆ ควรพาเขาเข้าไปในห้องตั้งแต่ยังไม่เปิดแอร์ แล้วเปิดแอร์
    ให้อากาศในห้องค่อย ๆ ปรับร่างกายเขาจะได้ค่อย ๆ ปรับตาม ควรวางไว้ในตำแหน่ง/
    ที่ไม่โดนแอร์เป่าโดยตรง มีผ้าคลุมกรงและมีบ้านโพรงไม้ให้เค้า เข้าไปนอนได้ยิ่งดีจ๊ะ
  2. หมั่นดูพยากรณ์อากาศบ้าง เพราะจะได้กันฝนสาดเค้าได้ทันเวลา
  3. อย่าเอาเขาไปเที่ยวเล่นนอกบ้านในเวลาตั้งแต่ 09.00-17.00 น.ในฤดูร้อน
    ไม่ควรมีมีตติ้งในฤดูนี้อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
  4. หมั่นตรวจเช็คขวดน้ำทุกวันว่า น้ำไหลหรือรั่วหรือไม่ และล้างขวดน้ำสม่ำเสมอ ห้ามกินน้ำใส่ถ้วยเด็ดขาดนะ การกินน้ำเยอะเป็นเรื่องปกติถึงดีมากด้วย ร่างกายเขาจะได้ขับของเสียออกมาเยอะ ๆ
  5. ช่วงที่อากาศร้อนตอนกลางวันเขาจะไม่ค่อยกินอาหาร มักจะกินน้ำเยอะ
    ไม่ต้องตกใจมาก ให้ใส่อาหารสดให้เขากินตอนกลางคืนเยอะหน่อย
    จะได้เก็บพลังงานไว้ใช้ในตอนกลางวัน
การเลี้ยงกระต่าย การเลี้ยงหนูแกสบี้
  1. วิธีสังเกตง่าย ๆ ว่าหนูไม่สบายหรือเปล่าคือ ปกติเขาเป็นสัตว์กลางคืนจะกินอาหาร
    ตอนกลางคืนเยอะมาก หากวันไหนตื่นขึ้นมาแล้วพบว่าอาหารและน้ำไม่ลดหรือลดน้อย
    มาก ๆ แสดงว่าผิดปกติให้รีบพาไปพบสัตว์แพทย์โดยด่วนที่สุดเท่าที่จะทำได้
  2. สถานที่เลี้ยงควรมีแสงสว่างเหมือนธรรมชาติที่สุด กลางวันให้สว่างเขาจะได้นอนพักผ่อน กลางคืนให้มืดเค้าจะได้ออกมากินอาหาร และใช้ชิวิตตามธรรมชาติของเค้า อย่าพยายาม ไปฝืนธรรมชาตินะคะ
  3. ในกรงห้ามปูหญ้าหรือขี้เลื่อยหรือกระดาษหนังสือพิมพ์ให้เค้านอนจะดีที่สุดจ๊ะ เพราะอาจ ทำให้เกิดเชื้อราผิวหนังอักเสบเป็นฝีหนอง เศษฝุ่นเข้าตาหรือเข้าไปอุดตันในอวัยวะเพศ เป็นอันตรายที่บางคนมองข้าม
  4. ถ้าไม่จำเป็นอย่าซื้อผักที่ตลาด ควรให้กินหญ้าที่ขึ้นตามธรรมชาติซึ่งทั้งสะอาดประหยัด ปลอดภัย หรือให้ผักปลอดสารพิษ หรือล้างน้ำไหลผ่านเยอะ ๆ
  5. แผล ฝี หนองไม่ใช่เรื่องอันตราย เมื่อพบเบื้องต้นให้ใช้น้ำเกลือล้างแผลและใส่ยาเบตาดีน แต่หากพบเป็นฝีก้อนใหญ่ให้รีบพาไปหาสัตวแพทย์ ให้คุณหมอกรีดหนองออกกินยา ไม่นานก็หาย
ที่มา:brightlives.th.88db.
รูปภาพกระต่าย ต่างๆ  :กระต่ายแคระ ,กระต่ายป่า,        
กระต่ายน้อย,ลูกกระต่าย                                                    







ที่มา:.google.co.th

วันอาทิตย์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2555

เรื่องจริงของกระต่ายแคระและกระต่ายตัวเท่าฝ่ามือ
   กระต่ายสายพันธุ์ที่เล็กที่สุดในโลกคือสายพันธุ์ Netherland Dwarf หรือ ND นั่นเอง กระต่ายสายพันธุ์นี้จะมีน้ำหนักไม่เกิน
1.13 กิโลกรัม น้ำหนักที่เหมาะสมอยู่ที่ 0.9 กิโลกรัม ส่วนกระต่ายหูตกที่เล็กที่สุดคือสายพันธุ์ Holland Lop ครับจะมีน้ำหนัก
ไม่เกิน 1.8 กิโลกรัมเมื่อโตเต็มที่ และถ้าความเป็นจริงเป็นเช่นนี้แล้วกระต่ายแคระแท้ ตัวเท่าฝ่ามือที่ขายกันทั่วไปคือ
สายพันธุ์อะไรกันหล่ะครับ กระต่ายที่ผู้ขายบอกว่าเป็นกระต่ายแคระนั้นเรามักจะพบเห็นได้ทั่วไปตามตลาดนัด ตลาดขาย
สัตว์เลี้ยง หรือแม้แต่กระทั่งในย่านธุรกิจใจกลางเมืองหลวง กระต่ายพวกนี้มักจะถูกนำมาจับใส่เสื้อผ้า ถูกขังไว้ในกรงเล็กๆ
ตัวยังเล็กมากประมาณฝ่ามือ ตาจะยังเปิดไม่เต็มที่ เนื่องจากกระต่ายเหล่านั้นเป็นกระต่ายเด็กที่อายุประมาณ 3 อาทิตย์เท่า
นั้นเองเพิ่งจะลืมตา หรือเพิ่งจะหัดเดิน ซึ่งกระต่ายเหล่านี้อาจเป็นกระต่ายตัวแรกสำหรับใครหลายๆคน รวมทั้งผมด้วยเช่นกัน
กระต่ายเหล่านี้มีหลายแบบครับ ทั้งขนสั้น ขนยาว หูตั้ง หูตก หลากหลายลักษณะ ส่วนใหญ่จะเป็นพันธุ์ผสมที่คนขายรับมา
ขายอีกที อาจให้กินผักสด กล้วยน้ำว้า หรืออาหารเม็ดราคาถูกที่ไม่มีสารอาหารที่เพียงพอ เมื่อคนทั้งหลายพบเห็นอาจห้าม
ใจไม่ไหวซื้อมาเลี้ยงด้วยความน่ารัก หรืออาจจะด้วยความสงสารก็ตามแต่ ประกอบกับข้อมูลที่ผู้ขายบอกไม่ว่าจะเป็นอายุ
2-3 เดือนแล้ว ทานอาหารเม็ดได้ ทานผักสดได้ รวมถึงอาบน้ำได้ด้วย และนี่แหละคับเป็นสาเหตุให้กระต่ายที่เรานำมาเลี้ยง
ท้องเสียอย่างรวดเร็ว หรือเสียชีวิตด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของเราเอง หรือหากประคับประคองกันจนรอดมาได้ ก็ตัวใหญ่
เกินจินตนาการ ก่อให้เกิดปัญหากระต่ายไม่มีเจ้าของมากมาย หยุดเถอะครับ กับวงจรเหล่านี้ เมื่อไม่มีคนซื้อ ก็ไม่มีคนขาย
ครับ
หยุดให้ความช่วยเหลือกระต่ายด้วยวิธีนี้นะครับ ช่วยยังไงก็ไม่หมด



                                               
ที่มา:royal-bunny.com


   ประวัติกระต่าย    



@@Netherland Dwarf@@
    กระต่ายแคระสายพันธุ์เนเธอร์แลนด์ดวอฟ (Netherland Dwarf) เป็นชื่อของกระต่ายแคระสายพันธุ์หนึ่ง เป็นกระต่ายที่มีขนาดเล็กที่สุดในโลก คือมีน้ำหนักของตัวโตเต็มที่ ตั้งแต่ 7 ขีด (หรือปอนด์ครึ่ง) ถึงไม่เกิน 1.15 กิโลกรัม (หรือ 2 ปอนด์ครึ่ง) โดยมีน้ำหนักในอุดมคติอยู่ที่ 9 ขีดเท่านั้น (หรือ2 ปอนด์)
กระต่ายพันธุ์นี้ได้ชื่อว่าเป็น อัญมณีแห่งกระต่ายสวยงาม หรือ Gem of the Fancy และเป็นที่นิยมเลี้ยงกันอย่างแพร่หลายทั้งในประเทศสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และในยุโรป เช่นประเทศเยอรมนี และประเทศเนเธอร์แลนด์ ที่เป็นต้นกำเนิดของสายพันธุ์นี้ ด้วยเหตุผลที่ว่า สายพันธุ์นี้เป็นเหมือนกระต่ายในฝัน คือ มีขนาดเล็ก มีหลากหลายลักษณะสี หรือ Variety กินอาหารน้อย ต้องการพื้นที่ในการเลี้ยงน้อย โดยรวมก็คือ เป็นสัตว์เลี้ยงที่เหมาะสมสำหรับยุคที่ต้องประหยัดในขณะนี้ นอกเหนือจากลักษณะที่น่ารักและคล่องแคล่ว ว่องไวแล้ว กระต่ายแคระยังมีเสน่ห์ดึงดูดใจผู้ที่ได้พบเห็น ไม่ว่าจะเป็นลักษณะที่ขี้เล่น ช่างสนอกสนใจไปเสียทุกสิ่ง และลักษณะที่เล็ก สั้น ตัวกลม หัวกลม ตากลมโต บ้องแบ๊ว ชอบยืนสองขาเพื่อสังเกตสิ่งที่อยู่รอบตัว
............................................................................................................................................


@@ประวัติความเป็นมาของกระต่ายสายพันธุ์เนเธอร์แลนด์ดวอฟ@@
เมื่อ ประมาณช่วงปี ค.ศ. 1880 หรือราว พ.ศ. 2423 ที่ประเทศอังกฤษ ได้ปรากฏว่ามีกระต่ายสายพันธุ์ดัทช์ได้ให้กำเนิดลูกหลากหลายครอกที่มี สีขาวแต่มีลายสีต่างๆ ไม่เป็นสีขาวทั้งตัว มีตาสีแดง มีลักษณะลำตัวที่เล็ก สั้นกะทัดรัด มีน้ำหนักอยู่ที่ประมาณ 1.6 ถึง 2 กิโลกรัม แต่มีขนที่นุ่มลื่นสวยงาม ซึ่งเป็นที่มาของกระต่ายโปลิช (Polish) แม้ว่ากระต่ายที่ได้จะยังมีเลือดที่ไม่นิ่ง แต่การผสมแบบในสายเลือด (Line Breeding) เช่น พ่อผสมลูกสาว แม่ผสมลูกชาย ทำให้ได้กระต่ายในรุ่นต่อมาที่มีสีขาวมากขึ้น จนกระทั่งได้กระต่ายสีขาวล้วน ตาสีทับทิม (Ruby-Eyed White) ที่เป็นต้นกำเนิดของกระต่ายเนเธอร์แลนด์ดวอฟ ในปัจจุบัน ด้วยแรงบันดาลใจจากการนำเข้ากระต่ายสายพันธุ์โปลิช มายังสหราชอาณาจักรอังกฤษ ในปี ค.ศ. 1884 หรือ พ.ศ. 2427 กระต่ายพันธุ์โปลิชจากประเทศเยอรมนี ได้ถูกนำมาผสมข้ามพันธุ์กับกระต่ายป่าในประเทศเนเธอร์แลนด์ที่มีขนาดเล็กโดย บังเอิญ จนทำให้เกิดการถ่ายทอดยีนส์แคระลงในกระต่ายพันธุ์โปลิช ทำให้มีขนาดเล็กและมีลำตัวที่สั้นลง ในเวลานั้นกระต่ายแคระ จึงมีแต่สีขาวล้วนและมีตาสีทับทิม
ในช่วงของสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง กระต่ายแคระ สีขาวตาฟ้า (Blue-Eyed White) ได้ถือกำเนิดขึ้นในจักรวรรดิเยอรมัน แต่ลักษณะของกระต่ายแคระสีขาวตาฟ้าในขณะนั้นจะมีโครงสร้างกระดูกที่ใหญ่ ลำตัวที่ยาวกว่า ขนหยาบและสั้นกว่าของขาวตาทับทิม จนกระทั่งถึงช่วง ปลายทศวรรษปี 1930 หรือราว พ.ศ.             2480-2483       กระต่ายแคระที่ถูกพัฒนาขึ้นมาในขณะนั้น จึงมีเพียงแค่ 2 ประเภทสีเท่านั้น คือ ขาวตาทับทิม และ ขาวตาฟ้า
จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1948 หรือ พ.ศ. 2491 ถือได้ว่าเป็นยุคเริ่มต้นของกระต่ายเนเธอร์แลนด์ดวอฟ เนื่องจากกระต่ายสายพันธุ์นี้ได้ถูกนำเข้าไปยังสหราชอาณาจักรอังกฤษ โดยนักพัฒนาสายพันธุ์กระต่าย และในปี ค.ศ. 1969 หรือ พ.ศ. 2512 กระต่ายสายพันธุ์นี้ ได้รับความนิยมในสหรัฐอเมริกา จนได้รับการยอมรับจากสมาคมนักพัฒนาพันธุ์กระต่ายแห่งสหรัฐอเมริกา(ARBA) โดยมีการปรับปรุงข้อกำหนดของรายละเอียดมาตรฐานสายพันธุ์จากของสภากระต่าย แห่งสหราชอาณาจักรเพียงนิดหน่อยเท่านั้น
    สำหรับในประเทศไทย เมื่อปลายปี ค.ศ. 2003 หรือ พ.ศ. 2546 ได้มีการนำเข้ากระต่ายสายพันธุ์นี้คุณภาพระดับประกวดจากสหรัฐอเมริกาสำหรับ สมาชิก ชมรมคนรักกระต่ายแห่งประเทศไทย สีที่นำเข้ามาในขณะนั้น คือสีขาวตาฟ้า สีดำสร้อยทอง(Black Otter) และสีดำสร้อยเงิน(Black Silver Marten) และในปีต่อมา ก็ได้มีการนำเข้า สีต่างๆ ที่แปลกและสวยขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง เช่น สีศุภลักษณ์หรือสีทองแดง (Siamese Sable) สีควันบุหรี่(Siamese Smoke Pearl) สีฮิมาลายัน(Himalayan) และสีที่หายาก อย่างสีวิเชียรมาศ(Sable Point) หรืออย่าง สีพื้นเช่น สีดำ สีบลู(Blue) สีชอกโกแลต ทำให้ในขณะนี้ ประเทศของเราก็มีกระต่ายสายพันธุ์นี้ในประเภทสีต่างๆ มากมาย ดังที่ได้เห็นกันแล้วตามงานประกวดต่างๆ และเมื่อปลายปีที่ผ่านมา ก็มีการนำเข้ากระต่ายสายพันธุ์นี้จากประเทศต้นกำเนิดคือ เนเธอร์แลนด์
ความ แตกต่างหลักๆของกระต่ายจากสหรัฐอเมริกาและจากเนเธอร์แลนด์ นอกเหนือจากลักษณะทางกายภาพ อันได้แก่ น้ำหนัก หุ่น รูปทรง หัว กะโหลก และลำตัว ระบบเพดดีกรีและการจดทะเบียนของสหรัฐอเมริกาถือได้ว่ามีระบบที่ดีที่สุดใน โลก ซึ่งดีกว่าของกระต่ายทางเนเธอร์แลนด์ ซึ่งยังไม่มีการจดทะเบียนที่มีระบบ จึงทำให้กระต่ายจากทางสหรัฐอเมริกามีคุณภาพและราคาที่สูงกว่า
............................................................................................................................................


@@ลักษณะมาตรฐานของสายพันธุ์@@
ลักษณะ มาตรฐานของสายพันธุ์โดยทั่วไปของสายพันธุ์กระต่ายแคระเนเธอร์แลนด์ หรือเนเธอร์แลนด์ดวอฟ คือ มีลำตัวสั้น กะทัดรัด ไหล่ สะโพก ความสูง มองดูโดยรวมแล้วสมมาตรกันอย่างสวยงาม หัวมองดูกลม ไม่ว่าจะมองจากมุมใด คอสั้นมากเท่าที่จะเป็นไปได้ หูตั้ง ตรง มีขนเต็ม และมีความแน่น ไม่บางจนเกินไป ตากลม โต สดใส ขนดูแลรักษาง่าย เวลาหวีย้อนแนวขน ขนสามารถกลับมาเป็นทรงเดิมได้ น้ำหนักเมื่อโตเต็มที่ในอุดมคติคือ 0.9 กิโลกรัม น้ำหนักมากที่สุดที่สามารถจดทะเบียนได้ 1.15 กิโลกรัม
............................................................................................................................................
@@รูปร่าง ทรง และลักษณะทั่วไป@@
*ลำตัว* ลำตัวต้องสั้น เล็กกะทัดรัด ไหล่หนา และมีความกว้างเท่ากับความกว้างของสะโพก ความกว้างและส่วนสูงจะต้องใกล้เคียงกัน ไหล่โค้งได้รูปรับกับส่วนโค้งของสะโพกที่กลมกลึง ซึ่งทำให้เน้นความสูงของตัวกระต่าย โดยที่ความกว้างและส่วนสูงจะต้องสมดุลกัน
หัว หัวโต มีขนาดใหญ่สมดุลกันกับลำตัว ตัวผู้จะมีหัวใหญ่กว่าตัวเมีย หัวเป็นทรงกลมเมื่อมองจากทุกทิศทาง ส่วนโค้งของหัวมองดูกลมไม่มีสะดุด หัวตั้งสูงและติดกับไหล่มากที่สุด


*หู* หูจะต้องสั้นและตั้งอยู่บนส่วนหัว หูตั้งแต่ไม่จำเป็นต้องชิดติดกัน มีขนเต็มสม่ำเสมอ แสดงถึงความมีเนื้อของส่วนฐานของหู ปลายหูมน ความยาวของหูในอุดมคติคือ 2 นิ้ว ขนาดของหูต้องสมดุลกันกับหัวและลำตัว


*ตา* ดวงตาต้องกลม โต สดใส สีของตาต้องตรงตามมาตรฐานของประเภทสีที่ทำการประกวด ดังจะได้กล่าวถึงในรายละเอียดในเล่มต่อไป เช่น สีบลูหรือสีสวาดหรือสีเทาควันบุหรี่ ต้องมีตาสีเทา เป็นต้น ข้อยกเว้นในกระต่ายสีช็อกโกแล็ต สีไลแลคหรือสีเทากาบบัว และกลุ่มสีเฉด รวมถึงพวกสร้อยเงิน รูม่านตาอาจจะเป็นสีแดงสะท้อนออกมาได้ เรียกว่า Ruby Glow หรือ Ruby Red Reflection ในแสงปกติ ซึ่งกรรมการไม่ควรที่จะมาคำนึงถึงตรงส่วนนี้เวลาประกวด เพราะว่าไม่มีกระต่ายตัวไหนที่จะถูกตัดสิทธิ์หรือถูกหักคะแนนจากการที่มีสี แดงสะท้อนออกมาจากรูม่านตา


*หาง* ลักษณะของหางต้องตรง และมีขนเต็ม ถึงแม้ว่าจะไม่มีการให้คะแนนในส่วนหางของกระต่าย แต่ถ้าหางมีลักษณะที่บกพร่องบ้าง ก็อาจจะถูกหักคะแนนบ้างจากลักษณะประกอบอื่นๆ แต่ถ้าบกพร่องมาก ก็อาจจะถูกตัดสิทธิ์จากการประกวดได้เช่นกัน


*ขน* ลักษณะขนต้องเป็นแบบโรลแบ็ค (Rollback) เท่านั้น โรลแบ็ค หมายถึง ลักษณะขนที่เมื่อใช้มือลูบย้อนแนวขน ขนจะค่อยๆ กลับคืนตัวสู่ตำแหน่งเดิม คุณภาพของขนต้องนุ่ม หนาแน่นสม่ำเสมอกัน ขนไม่ตายและเป็นมันเงางาม


*สี* ลักษณะของสีขนและสีตาต้องตรงกันตามมาตรฐานของสีนั้นๆ สีเล็บก็ต้องตรงตามมาตรฐานของสีนั้นๆ ด้วย กระต่ายจะถูกตัดสิทธิ์จากการประกวด เมื่อปรากฏเล็บขาว ในกระต่ายสี สุดท้ายสีขนชั้นนอกและสีขนชั้นในไม่ตรงตามมาตรฐานที่กำหนด


* ลักษณะที่ไม่พึงประสงค์* ไหล่แคบ ลำตัวยาวและแคบ หัวไหล่หรือสะโพกแคบ ส่วนโค้งหลังแบนราบไม่โค้ง ดังนั้นถ้าความกว้าง ความยาวและส่วนสูง ไม่สัมพันธ์กัน จึงถือว่าเป็นลักษณะที่บกพร่องทั้งสิ้น ลักษณะหัว ที่มีจมูกแหลม บาน หรือแบน ถือเป็นลักษณะที่ไม่ต้องการ หัวใหญ่หรือเล็กเกินไปเมื่อเทียบกับตัว หัวไม่สมดุลกับตัวและหู หัวขาดความกลมถือเป็นลักษณะที่บกพร่องทั้งสิ้น หูบาง หูงอ หูพับ ขนที่หูไม่สม่ำเสมอ หูแบน หูเป็นรูปตัววีกางมากเกินไป เส้นขนยาวเกินไป ขนบาง ขนไม่หนาแน่น กระต่ายอยู่ในช่วงผลัดขน สีจางไม่เท่ากัน หรือมีสีปะคือมีสีอื่นปรากฏขึ้นมาในที่ที่ไม่ควรเป็น และที่ยอมไม่ได้มากที่สุดคือ ขนปรากฏเป็นแบบฟลายแบ็ค (Flyback) คือเมื่อลูบขนย้อนแนว จะตีกลับสู่ตำแหน่งเดิมในทันที ซึ่งเป็นลักษณะที่ทำให้กระต่ายเนเธอร์แลนด์ดวอฟแตกต่างจากกระต่ายพันธุ์โปลิช
ที่มา:rabbitcafe.net/board/nd/26427/